Keblinger

Keblinger

หน้าเว็บ

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

| วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
มาเลเซียเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
ข้อมูลทั่วไป
มาเลเซียมุ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2563 หรือ (Vision
2020) และมีแผนพัฒนาต่อเนื่อง (Mission 2057) เป็นแนวทางพัฒนา
ประเทศจนถึงปี 2600 มีบทบาทสำคัญในองค์การการประชุมอิสลาม
(OIC) และต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ OIC ภายในปี
2552 โดยใช้ศักยภาพด้านการบริหารธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรม
อาหารฮาลาล ในปี 2550 นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาไทยมากเป็น
อันดับหนึ่ง และเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยในอาเซียน
พื้นที่
329,758 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประชากร
27.73 ล้านคน
42 ประเทศไทยกับอาเซียน
ภาษา
มาเลย์
ศาสนา
อิสลาม (ร้อยละ 60) พุทธ (ร้อยละ 19) คริสต์ (ร้อยละ 12)
วันชาติ
วันที่ 31 สิงหาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 31 สิงหาคม 2500
การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ปัจจุบันประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ
ประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี อยู่ในตำแหน่งคราวละ
5 ปี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ
เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ
อากาศ
มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม
สกุลเงิน
ริงกิต
ข้อมูลเศรษฐกิจ
การเพาะปลูก เป็นประเทศที่ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้า
ปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
ประเทศไทยกับอาเซียน 43
ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว
ปิโตรเลียม เฟอร์นิเจอร์ ยาง น้ำมันปาล์ม
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม
สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย
ด้านการทูต
นอกจากสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงกัวลาลัมเปอร์แล้ว ไทยยัง
มีสถานกงสุลใหญ่ ในมาเลเซียอีก 2 แห่ง คือ ปีนัง และโกตาบารู
และมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์เกาะลังกาวี อีก 1 แห่ง สำหรับ
หน่วยงานของส่วนราชการต่างๆ ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ภายใต้สถาน
เอกอัครราชทูตไทย ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร สำนักงาน
ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน ส่วนหน่วยงาน
ของไทยอื่นๆ ที่ตั้งสำนักงานในมาเลเซียคือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
บริษัทการบินไทย สำหรับหน่วยงานของมาเลเซียในประเทศไทย
ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย และสถานกงสุลใหญ่มาเลเซีย
ประจำจังหวัดสงขลา
44 ประเทศไทยกับอาเซียน
ด้านการเมืองและความมั่นคง
ไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้น มีการแลก
เปลี่ยนการเยือนทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการในระดับต่างๆ
ตั้งแต่ระดับพระราชวงศ์ชั้นสูง ระดับรัฐบาล และเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ
แต่ยังคงมีประเด็นปัญหาที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข เช่น ปัญหา
การปักปันเขตแดนทางบก ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ และการก่อความ
ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เป็นต้น
ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
การค้าระหว่างไทยกับมาเลเซียในปี 2550 มีมูลค่า 16,408
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยขาดดุลการค้า 826.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องสำอาง เครื่องคอมพิวเตอร ์
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา
สินค้านำเข้าที่สำคัญจากมาเลเซีย ได้แก่ น้ำมันดิบและแร่เชื้อเพลิง
เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเคมีภัณฑ์
เครื่องจักรไฟฟ้า และส่วนประกอบ ในปี 2550 นักลงทุนมาเลเซียได้
รับอนุมัติโครงการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ
ลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 53 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุปกรณ์และ
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ด้านการท่องเที่ยว
ในปี 2550 นักท่องเที่ยวมาเลเซียเดินทางมาประเทศไทย 1.2 ล้านคน
และนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปมาเลเซียประมาณ 600,000 คน
ด้านสังคม วัฒนธรรมและการศึกษา
ไทยกับมาเลเซียมีความใกล้ชิดกันในระดับท้องถิ่น ประชาชนทั้งสอง
ฝ่ายไปมาหาสู่กันในฐานะมิตรและเครือญาติ มีโครงการเชื่อมโยง
ประเทศไทยกับอาเซียน 45
เส้นทางคมนาคม และความร่วมมือด้านการบริหารจัดการสัญจร
ข้ามแดน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่และส่งเสริมการ
ติดต่อด้านการค้าและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยัง
อนุญาตให้ประชาชนที่ถือสัญชาติของอีกฝ่ายหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่
ชายแดนใช้บัตรผ่านแดนซึ่งออกให้โดยหน่วยงานปกครองท้องถิ่นของ
แต่ละประเทศแทนการใช้หนังสือเดินทางเพื่อผ่านด่านพรมแดน
รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำศาสนาอิสลาม การแลกเปลี่ยน
ข้อมูลด้านการบริหาร จัดการโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามและวิทยาลัย
อิหม่าม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านกิจการศาสนาอิสลาม มีการ
ประชุมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันเพื่อทบทวนและติดตาม
ผลการดำเนินงานของทั้ง 2 ประเทศ
ข้อควรรู้
ประเทศมาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนา
ประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ
เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตร
งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย “ภูมิบุตร” มาเลเซียมีปัญหา
ประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดการปะทะระหว่าง
เชื้อชาติ เนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วย
ชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ
10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
อีกร้อยละ 5 เป็นชาวไทย และอื่นๆ อีกร้อยละ 2


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © 2010 Asean Studies Center | Design by Dzignine