Keblinger

Keblinger

หน้าเว็บ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

| วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ลาวเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao
People’s Democratic Republic) เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความ
ใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ
ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยทั้ง
ทางบกและทางน้ำถึง 1,810 กิโลเมตร พัฒนาการต่างๆ ในลาวจึง
ส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบ แหล่งพลังงานสำรอง
และแหล่งลงทุนของไทย เพื่อการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่
สามที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ลาว นอกจากนี้เป็นประเทศที่ไม่มี
ทางออกทางทะเล แต่สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (land bridge หรือ
land link) ด้านการคมนาคมขนส่งและการส่งออกสินค้าของไทยไป
ยังประเทศที่สามในอนุภูมิภาค
พื้นที่
236,800 ตารางกิโลเมตร
ประเทศไทยกับอาเซียน 37
เมืองหลวง
นครหลวงเวียงจันทน์
ประชากร
6 ล้านคน
ภาษา
ลาว
ศาสนา
พุทธ (ร้อยละ 75) อื่นๆ (ร้อยละ 25)
วันชาติ
วันที่ 2 ธันวาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 19 ธันวาคม 2493
การปกครอง
ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่าระบอบประชา
ธิปไตยประชาชน) โดยพรรคการเมืองเดียว คือพรรคประชาชนปฏิวัติ
ลาวซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
มีประธานประเทศเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
นโยบายต่างประเทศมุ่งสร้างเสริมความสัมพันธ์แบบรอบด้านกับ
ทุกประเทศ โดยให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นลำดับแรก ได้แก่
เวียดนาม จีน พม่า กัมพูชา และไทย รองลงมาเป็นประเทศร่วมอุดมการณ ์
ได้แก่ รัสเซีย เกาหลีเหนือ และคิวบา
38 ประเทศไทยกับอาเซียน
อากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของลาวคล้ายกับภาคเหนือและภาคอีสานของไทย
แต่ฤดูหนาวมีอากาศหนาวมากกว่า พื้นที่ทางภาคใต้และทาง
ตอนกลางของประเทศเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุกมากกว่าภาคเหนือ
สกุลเงิน
กีบ
ข้อมูลเศรษฐกิจ
การเพาะปลูก ภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่เพาะปลูก 1,187,500 ไร่
และผลิตข้าวได้ 2.6 ล้านตัน/ปี
ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคบริโภค
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
เนเธอร์แลนด์
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี
ประเทศไทยกับอาเซียน 39
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ด้านการทูต
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในปัจจุบันดำเนินไปอย่างราบรื่น
ใกล้ชิด ทั้งสองฝ่ายได้ใช้กลไกและเวทีความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่
จัดตั้งขึ้นทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีผลักดันความร่วมมือและ
แก้ไขปัญหา เพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธี
ด้านการเมืองและความมั่นคง
กองทัพไทยและลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น
มีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดน
ไทย-ลาว ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกับรัฐมนตรีว่า
การกระทรวงป้องกันประเทศตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 เพื่อเป็นกรอบ
ในการปฏิบัติงานให้ชายแดนไทย-ลาวเป็นชายแดนแห่งมิตรภาพ สันติภาพ
และความมั่นคง นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังมีความร่วมมือด้านการ
ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีการประชุมว่าด้วยความร่วมมือ
ด้านยาเสพติดเป็นประจำทุกปี
ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
การค้าระหว่างประเทศทั้งสองมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไทยเป็น
ประเทศที่ลงทุนในลาวมากที่สุด นอกจากนี้ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้าน
ภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากลาว ทั้งในรูปของการให้
สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ และยกเว้น
อากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ one way free trade หลายร้อยรายการตั้งแต่
ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน
40 ประเทศไทยกับอาเซียน
ด้านการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวไทยไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 154.48 และนักท่องเที่ยวลาว
มาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.84
ด้านสังคม
วัฒนธรรมและการศึกษา ไทยให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ
กับลาว ตั้งแต่ปี 2516 โดยเน้นด้านการพัฒนาบุคลากรในลักษณะ
การให้ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม ดูงาน และโครงการพัฒนา
ในสาขาการเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข ทั้งสองฝ่ายยังมี
ความร่วมมือด้านแรงงาน ทั้งการจ้างแรงงาน การคุ้มครองแรงงาน
และการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ข้อควรรู้
ลาว มีสายการบินเดียวคือ การบินลาว มีสนามบินทั้งหมด 52 แห่ง
มีเพียง 9 แห่งที่ลาดยาง ลาวขับรถทางขวา ธนาคารไทยในลาว
มี 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย ์
ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © 2010 Asean Studies Center | Design by Dzignine