Keblinger

Keblinger

หน้าเว็บ

กลไกการบริหารของอาเซียน

| วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
กลไกการบริหารของอาเซียน (Organs)
1. ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เป็นองค์กร
สูงสุดในการกำหนดนโยบาย และมีการประชุมปีละ 2 ครั้ง มีหน้าที่
1) ให้แนวนโยบายและตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ 2) สั่งการให้มีการประชุม
ระดับรัฐมนตรีเป็นการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
เสาหลักต่างๆ มากกว่า 1 เสา 3) ดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่กระทบต่ออาเซียน 4) ตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิก กรณีที่ไม่
อาจหาข้อยุติในข้อขัดแย้งได้ หรือมีการไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของ
กลไกระงับข้อพิพาท 5) ตั้งหรือยุบองค์กรอาเซียน 6) แต่งตั้ง
เลขาธิการอาเซียน
2. คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating
Council) ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ของประเทศสมาชิกอาเซียน ทำหน้าที่เตรียมการประชุมสุดยอด
อาเซียน ประสานงานระหว่าง 3 เสาหลัก เพื่อความเป็นบูรณาการใน
การดำเนินงานของอาเซียน และแต่งตั้งรองเลขาธิการอาเซียน
3. คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community
Council) สำหรับ 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย
ผู้แทนที่แต่ละประเทศสมาชิกแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่ประสานงานและ
ติดตามการดำเนินงานตามแนวนโยบายของผู้นำทั้งในเรื่องที่อยู่ภายใต้
เสาหลักของตน และเรื่องที่เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลาย
เสาหลัก และเสนอรายงานและข้อเสนอแนะในเรื่องที่อยู่ภายใต้การ
ดูแลของตนต่อผู้นำ
4. องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN
Sectoral Ministerial Bodies) จัดตั้งโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
มีหน้าที่หลัก คือ 1) ดำเนินการตามอาณัติที่มีอยู่แล้ว 2) นำความ
ตกลงและมติของผู้นำไปปฎิบัติ 3) เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อ
สนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียน 4) เสนอรายงานและข้อเสนอแนะ

ต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียนที่เหมาะสม และ 5) สามารถมี
เจ้าหน้าที่อาวุโส หรือองค์กรย่อยเพื่อสนับสนุนการทำงานได้
5. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) อยู่ภายใต้
บังคับบัญชาของเลขาธิการอาเซียน (Secretary General of ASEAN)
ซึ่งมีบทบาทมากขึ้นโดยนอกจากจะเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่
ฝ่ายบริหารของอาเซียนแล้ว เลขาธิการอาเซียนจะมีบทบาทในการ
ติดตามการปฏิบัติตามคำตัดสินของกลไกระงับข้อพิพาทและรายงาน
ตรงต่อผู้นำ และสนับสนุนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของอาเซียน
กับภาคประชาสังคม ทั้งนี้ ให้มีรองเลขาธิการอาเซียน (Deputy
Secretary General) 4 คน โดย 2 คนจะมาจากการหมุนเวียนตาม
ลำดับตัวอักษรประเทศ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี และอีก 2
คนมาจากการคัดเลือกตามความสามารถ มีวาระการดำรงตำแหน่ง
3 ปี และอาจได้รับการต่ออายุได้อีก 1 วาระ
6. คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent
Representatives (CPR) to ASEAN) ที่กรุงจาการ์ตา โดยประเทศ


1 ความคิดเห็น:

{ mylifeforsale } at: 18 มิถุนายน 2557 เวลา 04:47 กล่าวว่า...

ขอโทษนะคะ พอจะทราบไหมคะว่าที่ไหนมีธงประเทศต่างๆที่อยู่ในกลุ่มอาเซียนปักอยู่ร่วมกันบ้าง

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © 2010 Asean Studies Center | Design by Dzignine