Keblinger

Keblinger

หน้าเว็บ

กลไกการบริหารของอาเซียน (2)

| วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมาชิกจะแต่งตั้งผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตเพื่อทำหน้าที่เป็น
คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งเป็นคนละคนกับ
เอกอัครราชทูตประจำกรุงจาการ์ตา ทำหน้าที่แทนคณะกรรมาธิการ
อาเซียน โดยคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญสอง
ด้าน ได้แก่ การเป็นผู้แทนของประเทศสมาชิกและการเป็นผู้แทนของ
อาเซียน ซึ่งจะเป็นเรื่องการสนับสนุนคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
และองค์กรความร่วมมือเฉพาะด้านต่างๆ การประสานงานกับสำนัก
เลขาธิการอาเซียน เลขาธิการอาเซียน และสำนักเลขาธิการอาเซียน
แห่งชาติของแต่ละประเทศสมาชิก และการส่งเสริมความร่วมมือ
กับประเทศคู่เจรจา
7. สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National
Secretariat) จัดตั้งโดยประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ เพื่อเป็นจุด
ประสานงานในการประสานงานและสนับสนุนภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับอาเซียนภายในประเทศ รวมทั้งการเตรียมการประชุมต่างๆ ของอาเซียน
ตลอดจนเป็นศูนย์กลางเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนด้วย
8. องค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน (ASEAN Human Rights
Body- AHRB) มีหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค
โดยจะมีการตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญขึ้นมายกร่างเอกสารกำหนดขอบเขต
อำนาจหน้าที่ (Term Reference) ขององค์กรดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้
ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศได้ให้แนวทางว่า อำนาจหน้าที่ขององค์กร
สิทธิมนุษยชนอาเซียนไม่ควรจำกัดแค่การให้คำปรึกษา แต่ควรรวมถึง
การติดตามและประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในภูมิภาค
การส่งเสริมการศึกษาและการตื่นตัวของหน่วยงานภาครัฐและ
ประชาชนด้วย
9. มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) มีหน้าที่สนับสนุน
เลขาธิการอาเซียนและประสานงานกับองค์กรอื่นๆ ของอาเซียน
ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
ประชาชนและความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ของอาเซียน


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © 2010 Asean Studies Center | Design by Dzignine