Keblinger

Keblinger

หน้าเว็บ

กฎบัตรอาเซียน

| วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550
ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนาม ในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบ
เสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้าง
องค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุ
ประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขับเคลื่อนการรวม
ตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรคือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มี
ประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพกฎกติกาในการ
ทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะเป็นสถานะนิติบุคคล
แก่อาเซียนในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental
Organization)
จุดเด่นประการหนึ่งของกฎบัตรอาเซียน คือ การที่ข้อบทต่างๆ
ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ประชาชนเข้าถึงและ
เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศสมาชิกมากยิ่งขึ้น กฎบัตรอาเซียน
ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 บท รวม 55 ข้อย่อย อาจสรุปบทบัญญัติ
ที่สำคัญของกฎบัตรอาเซียนได้ ดังนี้
บทที่ 1 เป้าหมายและหลักการ (Purposes and Principles)
ระบุเป้าหมายของอาเซียนและหลักการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่าง
รัฐสมาชิก ได้แก่ เป้าหมายการส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความ
สามารถในการแข่งขันของภูมิภาค ความกินดีอยู่ดีของประชาชน
ความมั่นคงของมนุษย์ การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การเมือง
สังคมและวัฒนธรรม การลดช่องว่างของการพัฒนาการส่งเสริม
ประชาธิปไตย การเคารพสิทธิมนุษยชน การพัฒนาอย่างยั่งยืน
สิ่งแวดล้อม การศึกษา ยาเสพติด การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน เป็นต้น
ส่วนหลักการ ได้แก่ เรื่องอำนาจอธิปไตย การไม่แทรกแซงกิจการภายใน
หลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล และการเคารพความแตกต่าง เป็นต้น
บทที่ 2 สถานะบุคคล (Legal Personality) ให้อาเซียน
มีสถานะบุคคล
บทที่ 3 สมาชิกภาพ (Membership) กำหนดกฎเกณฑ์และ
กระบวนการในการรับสมาชิกใหม่ เช่น ต้องเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิก
อาเซียนและต้องยินยอมผูกพันตามกฎบัตรและสามารถปฏิบัติตาม
พันธกรณีของรัฐสมาชิก รวมทั้งกำหนดสิทธิและหน้าที่ของรัฐสมาชิก
ไว้กว้างๆ คือรัฐสมาชิกจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตร
และความตกลงต่างๆ ของอาเซียน รวมถึงหน้าที่ในการออกกฎหมาย
ภายในเพื่อรองรับพันธกรณีด้วย
บทที่ 4 องค์กรของอาเซียน (Organs) ประกอบด้วย
1. ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit)
เป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายและมีการประชุมปีละ 2 ครั้ง
2. คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN
Coordinating Council) ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน ทำหน้าที่เตรียม
การประชุมสุดยอดอาเซียน ประสานงานระหว่าง 3 เสาหลัก เพื่อ
ความเป็นบูรณาการในการดำเนินงานของอาเซียน และแต่งตั้ง
รองเลขาธิการอาเซียน
3. คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN
Community Council) สำหรับ 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน
ประกอบด้วยผู้แทนที่แต่ละประเทศสมาชิกแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่
ประสานงานและติดตามการดำเนินงานตามแนวนโยบายของผู้นำทั้งใน
เรื่องที่อยู่ภายใต้เสาหลักของตน และเรื่องที่เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้อง
กับหลายเสาหลัก และเสนอรายงานและข้อเสนอแนะในเรื่องที่อยู่
ภายใต้การดูแลของตนต่อผู้นำ

บทที่ 6 เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต (Immunities
and Privileges) ระบุหลักการกว้างๆ ในการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน
ทางการทูตแก่ 1) สำนักเลขาธิการอาเซียนและองค์กรอื่นๆ
ของอาเซียน 2) เลขาธิการอาเซียนและเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการ
อาเซียน และ 3) ผู้แทนถาวรของรัฐสมาชิก ณ กรุงจาการ์ตา และ
ผู้แทนของรัฐสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมของอาเซียน เช่น เดินทางไปประชุม
เป็นต้น โดยรายละเอียดให้เป็นไปตามข้อตกลงแยกต่างหากจากกฎบัตร
บทที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ (Decision Making) หลักทั่วไป
คือ ฉันทามติ (Consensus) แต่มีข้อยกเว้นได้แก่ 1) กรณีที่ไม่มีแนวทางมติ
อาจส่งเรื่องให้ผู้นำตกลงกันว่าจะใช้วิธีการใดตัดสิน 2) กรณีที่มี
ข้อตกลงอื่นๆ ของอาเซียนอนุญาตให้ใช้วิธีการอื่นตัดสินใจได้ เช่น
ปัจจุบันมีสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ ที่ให้ใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ได้ และ 3) กรณีที่
มีการละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรอย่างร้ายแรง ผู้นำมีอำนาจตัดสินใจ
ด้วยวิธีการใดๆ ตามที่จะตกลงกันเพื่อกำหนดมาตรการลงโทษ
นอกจากนี้ ยังให้มีความยืดหยุ่นในการผูกพันตามข้อตกลงต่างๆ
โดยใช้สูตรอาเซียน ลบ X (ASEAN minus X สำหรับความตกลงทาง
เศรษฐกิจ ซึ่งหมายความว่าหากประเทศสมาชิกทุกประเทศมีฉันทามติ
เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ แล้ว ประเทศที่ยังไม่พร้อมก็อาจเลือกที่จะยังไม่
เข้าร่วมได้
บทที่ 8 การระงับข้อพิพาท (Settlement of Disputes)
1) กำหนดในหลักการให้มีกลไกระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement
Mechanism- DSM) สำหรับทุกเสาหลัก 2) ใช้การปรึกษาหารือและ
การเจรจาในการระงับข้อพิพาทเป็นอันดับแรก 3) ให้คู่พิพาทสามารถ
เลือกใช้กระบวนการไกล่เกลี่ย โดยอาจขอให้ประธานอาเซียนหรือ
เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้ 4) หากความตกลงเฉพาะกำหนด


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © 2010 Asean Studies Center | Design by Dzignine