Keblinger

Keblinger

หน้าเว็บ

สาธารณรัฐสิงคโปร์

| วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สาธารณรัฐสิงคโปร์
สิงคโปร์เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
มีความมั่นคงด้านการเมืองภายในทำให้มีความต่อเนื่องของนโยบาย
ในด้านต่าง ๆ และมีนโยบายการทูตเชิงรุก เป็นผู้นำของอาเซียน
ประเทศหนึ่ง เป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านการค้าและบริการ โทรคมนาคม
การเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ธุรกิจที่ไม่ต้องอาศัยพื้นที่หรือ
ทรัพยากรธรรมชาติ) โดยมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการ
โทรคมนาคมที่ทันสมัย เป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับไทย
ในการเข้าถึงและขยายโอกาสการค้าและการลงทุน มีระบบการศึกษา
และการแพทย์ที่ดีในเอเชีย มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีและต่อเนื่อง
พื้นที่
699.4 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
สิงคโปร์
ประเทศไทยกับอาเซียน 57
ประชากร
4.6 ล้านคน
ภาษา
มาเลย์ เป็นภาษาประจำชาติ และใช้ภาษาอังกฤษ มาเลย์ จีนกลาง
และทมิฬ เป็น ภาษาราชการ
ศาสนา
พุทธ (ร้อยละ 42.5) อิสลาม (ร้อยละ 14.9) คริสต์ (ร้อยละ 14.6)
ฮินดู (ร้อยละ 4) ไม่นับถือศาสนา (ร้อยละ 25)
วันชาติ
วันที่ 9 สิงหาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 20 กันยายน 2508
การปกครอง
ระบอบสาธารณรัฐ ระบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และ
นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภามีวาระคราวละ 5 ปี นโยบาย
ต่างประเทศของสิงคโปร์ เน้นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและ
การลงทุนจากต่างประเทศ
อากาศ ร้อนชื้น
มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส
สกุลเงิน
ดอลลาร์สิงคโปร์
58 ประเทศไทยกับอาเซียน
ข้อมูลเศรษฐกิจ
จุดแข็งของสิงคโปร์ คือ เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรเพียง 4-5
ล้านคน ทำให้ศักยภาพของคนเป็นจุดเด่นของประเทศ เนื่องจาก
รัฐบาลสามารถทุ่มงบประมาณในการพัฒนาระบบการศึกษาได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ สิงคโปร์โดดเด่นในการเสนอแนวคิดเรื่องความร่วมมือ
ใหม่ๆ กับอาเซียน เช่น เสนอแผนความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่จะเริ่มใช้ในปี 2563 และแนวคิดเรื่องการ
ตกลงด้านการค้าระหว่างอาเซียน เป็นต้น
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
ยางพารา มะพร้าว ผัก ผลไม้
ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก
ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เครื่องจักร
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
พลังงาน (ร้อยละ 40 ของการนำเข้าทั้งหมด) และอาหาร
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ไทย ฮ่องกง
ประเทศไทยกับอาเซียน 59
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย – สิงคโปร์
ด้านการทูต
ความสัมพันธ์ไทย–สิงคโปร์ดำเนินมาอย่างราบรื่นตลอด 41 ปี
และได้พัฒนาไปในลักษณะ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” เนื่องจากทั้งสอง
ประเทศมีจุดแข็งและมีศักยภาพที่เอื้อประโยชน์ต่อกันเป็นอย่างดี
ไทยมีทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานจำนวนมากและมีพื้นที่กว้างใหญ่
ส่วนสิงคโปร์แม้จะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและมีพื้นที่น้อย แต่มีความ
ก้าวหน้าทางทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีและและอุตสาหกรรมใน
ระดับสูง จึงได้นำจุดแข็งของทั้งสองประเทศมาพัฒนาร่วมกัน
จนนำไปสู่การส่งเสริมความสัมพันธ์และการพัฒนาที่ยั่งยืน
ด้านการเมืองและความมั่นคง
มีความร่วมมือทวิภาคี ทั้งการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (Prime
Minister Retreat) ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับสิงคโปร์ เพื่อสร้าง
ความคุ้นเคยระดับผู้นำและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการประชุม
คณะกรรมาธิการบริหารร่วมด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศระหว่าง
กองทัพไทย – สิงคโปร์ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงของ
ทั้งสองประเทศ มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกองทัพเรือไทย – สิงคโปร ์
และการฝึกร่วมผสม (Cobra Gold) เป็นต้น
ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
สิงคโปร์ มีความชำนาญเรื่องของระบบการค้าเสรีเป็นอย่างดีและเป็น
คู่ค้าสำคัญอันดับ 5 ของไทย รองจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีนและ
มาเลเซีย สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป แผนวงจรไฟฟ้าและส่วน
ประกอบอากาศยาน ด้านการลงทุน สิงคโปร์เป็นประเทศที่เข้ามาลง
ทุนในไทยมากเป็นอันดับ 6 โดยมีการส่งเสริมความร่วมมือด้านสินค้า
อาหารและเกษตร การขนส่งและโลจิสติกส์ และอสังหาริมทรัพย์
60 ประเทศไทยกับอาเซียน
ด้านการท่องเที่ยว
ชาวสิงคโปร์มีทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทยและชาวไทย และมีความรู้
เกี่ยวกับไทยในระดับดี เนื่องจากมีความนิยมชมชอบเดินทางเข้ามา
ท่องเที่ยวในไทย ตลาดนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์จึงเป็นหนึ่งใน
ตลาดหลักของการท่องเที่ยวของไทย
ด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษา
กลไกความร่วมมือ ได้แก่ โครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
ข้าราชการพลเรือนไทย – สิงคโปร์ (Thailand – Singapore Civil
Service Exchange Programme - CSEP) ด้านการศึกษา มีแผนงาน
เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยแลกเปลี่ยน
คณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตนักศึกษาของทั้งสองประเทศ
ข้อควรรู้
หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.
-13.00 น. และ 14.00 น. - 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา
08.00 น. – 13.00 น. ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยสามารถเดินทางเข้า
สิงคโปร์ได้โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตราและสามารถพำนักอยู่ได้
14 วัน การพำนักเกินระยะเวลาที่กำหนดถือว่าผิดกฎหมายมีโทษ
จำคุกสูงสุด 6 เดือน เฆี่ยน 3 ที ปรับสูงสุด 6,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
และห้ามเข้าประเทศ การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพ
เร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง การลักลอบนำ
ยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
ขั้นประหารชีวิต


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © 2010 Asean Studies Center | Design by Dzignine