Keblinger

Keblinger

หน้าเว็บ

สหภาพพม่า

| วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สหภาพพม่า
พม่าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่อเป็นทางการว่า สหภาพพม่า (Union of Myanmar) มีทรัพยากร
อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดการค้า
แรงงาน และแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน
(ก๊าซและไฟฟ้าพลังน้ำ) และเป็นทางเชื่อมสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน
และสาธารณรัฐอินเดีย สหภาพพม่าเป็น “critical factor”
ในยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคของไทย ซึ่งไทยได้รับผลกระทบจาก
สถานการณ์ภายในพม่าหลายประการ อาทิ ยาเสพติด แรงงานผิดกฎหมาย
ความมั่นคงบริเวณชายแดน เป็นต้น
พื้นที่
657,740 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
เนปีดอว์
ประชากร
55.4 ล้านคน
ประเทศไทยกับอาเซียน 47
ภาษาราชการ
พม่า
ศาสนา
พุทธ (ร้อยละ 90) คริสต์ (ร้อยละ 5) อิสลาม (ร้อยละ 3.8)
วันชาติ
วันที่ 4 มกราคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 24 สิงหาคม 2491
การปกครอง
ระบอบเผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพ
และการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council
หรือ SPDC) โดยประธาน SPDC เป็นประมุขของประเทศ และ
นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
อากาศ
มรสุมเมืองร้อน ด้านหน้าภูเขาอาระกันโยมา ฝนตกชุกมาก ภาคกลาง
ตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำบังลมส่วนภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และค่อนข้างแห้งแล้ง
สกุลเงิน
จั๊ต
48 ประเทศไทยกับอาเซียน
ข้อมูลเศรษฐกิจ
การเพาะปลูกเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณ
ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสะโตง ปลูกข้าวเจ้า
ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันสำเร็จรูป
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ไทย อินเดีย จีน
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
จีน สิงคโปร์ ไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-สหภาพพม่า
ด้านการทูต
ไทยและพม่าเปิดสถานเอกอัครราชทูตของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่
14 ธันวาคม 2492 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับ
รัฐบาลและประชาชน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่าง
สม่ำเสมอ
ด้านการเมืองและความมั่นคง
ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือทวิภาคี ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วม
ไทย-พม่า (Thailand – Myanmar Joint Commission on Bilaeral
ประเทศไทยกับอาเซียน 49
Cooperation – JC) คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint Boundary
Committee – JBC) และคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค
(Regional Border Committee – RBC) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ
และแก้ไขปัญหาในระดับต่างๆ ทั้งในภาพรวมและระดับพื้นที่
ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือในกรอบคณะกรรมาธิการร่วมทาง
การค้าไทย-พม่า (Joint Trade Commission – JTC) เพื่อส่งเสริม
ความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันไทยเป็นประเทศ
คู่ค้าอันดับ 1 ของพม่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ไขมัน
และน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
และเม็ดพลาสติก สินค้าที่ไทยนำเข้าจากพม่า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ
ไม้ซุง ไม้แปรรูป สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ เหล็ก เหล็กกล้า
และถ่านหิน ด้านการลงทุน ภาคเอกชนไทยลงทุนในพม่าร้อยละ 17.28
ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด และเป็นอันดับ 2 รองจาก
ประเทศสิงคโปร์
ด้านการท่องเที่ยว
ไทยและพม่าจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการท่องเที่ยวและพัฒนา
การท่องเที่ยวระหว่างภาคใต้ของไทยกับเมืองทวายของพม่า
ด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษา
ไทยและพม่าได้ลงนามในความตกลงทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม
2542 และมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น โครงการอัญเชิญ
ผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวายแก่วัดในพม่าการเชิญผู้สื่อข่าวพม่า
เยือนไทยการสนับสนุนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษา
ต่างประเทศของพม่า โครงการความร่วมมือทางวิชาการที่ไทยให้ทุน
50 ประเทศไทยกับอาเซียน
การศึกษา ทุนฝึกอบรม/ดูงาน จัดส่งวัสดุอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญไป
ให้คำปรึกษาแนะนำในด้านต่าง ๆ ในสาขาการเกษตร การศึกษา
สาธารณสุข และสาขาอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน นอกจากนี้
เมื่อปี 2544 รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในโครงการพัฒนา
หมู่บ้านยองข่า รัฐฉาน โดยนำโครงการพัฒนาดอยตุงเป็นแบบอย่าง
เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนพม่าให้เลิกปลูกฝิ่นและปลูกพืช
ผลอย่างอื่น ช่วยสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ดำเนินการด้านสาธารณสุข
ฯลฯ แต่ภายหลังเมื่อมีการปลดพลเอก ขิ่น ยุ้น โครงการดังกล่าว
ได้รับผลกระทบจึงหยุดชะงักไป นอกจากนี้ไทยและพม่าได้ร่วม
ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสารสนเทศและ
การกระจายเสียงและเผยแพร่
ข้อควรรู้
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2553 รัฐบาลพม่าประกาศเปลี่ยนธงชาติและ
ตราประจำชาติอย่างเป็นทางการ แต่ยังใช้ชื่อเดิมคือ สหภาพพม่า
(the Union of Myanmar) ส่วนชื่อประเทศใหม่ตามรัฐธรรมนูญ คือ
สาธารณรัฐสหภาพพม่า (the Republic of the Union of Myanmar)


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © 2010 Asean Studies Center | Design by Dzignine