Keblinger

Keblinger

หน้าเว็บ

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

| วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
เวียดนามเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist
Republic of Vietnam) เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และมีบทบาท
สำคัญด้านความมั่นคงในภูมิภาค เป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน
การบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ศักยภาพการผลิตสูง
แรงงานในประเทศมีคุณภาพ และยังคงมีค่าจ้างแรงงานต่ำ
ถูกจับตามองว่าจะเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว
ไม่สมดุล อัตราเงินเฟ้อสูงมาก ตั้งเป้าหมายเป็นประเทศอุตสาหกรรม
ภายในปี 2563
พื้นที่
331,690 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงฮานอย
ประชากร
87 ล้านคน
ประเทศไทยกับอาเซียน 65
ภาษาราชการ
เวียดนาม ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ คือ ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส และจีน
ศาสนา พุทธ
(ร้อยละ 90) คริสต์ (ร้อยละ 7) ศาสนาอื่นๆ (ร้อยละ 3)
วันชาติ
วันที่ 2 กันยายน
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 6 สิงหาคม 2519
การเมืองการปกครอง
ระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม แต่งตั้งโดย
สภาแห่งชาติ (National Assembly) มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ผูกขาด
การชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (Collective Leadership) สาธารณรัฐ
สังคมนิยมเวียดนามเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง มีเอกภาพสูง
และมีการกระจายอำนาจ ซึ่งมีหลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์
เวียดนาม สมัยที่ 10 เมื่อกลางปี 2549 มีผู้นำที่มีประสบการณ์ด้าน
เศรษฐกิจและมีภาพลักษณ์ของผู้นำรุ่นใหม่
อากาศ
มรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและ
พายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่
5 องศาเซลเซียส ถึง 37 องศาเซลเซียส
66 ประเทศไทยกับอาเซียน
สกุลเงิน
ด่ง
ข้อมูลเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย
การประมง
จับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง
อุตสาหกรรมที่สำคัญ
อุตสาหกรรมทอผ้า อาหาร เหมืองแร่ รองเท้า ปูนซีเมนต์
เหมืองแร่ที่สำคัญ
ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
วัตถุดิบ วัสดุสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย – เวียดนาม
ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนาม เมื่อวันที่ 6
สิงหาคม 2519 โดยเปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงฮานอยและ
ประเทศไทยกับอาเซียน 67
สถานกงสุลใหญ่ที่นครโฮจิมินห์ เมื่อปี 2521 และปี 2535 ตามลำดับ
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย ประกอบด้วยสำนักงาน
ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทย
เมื่อปี 2521 ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย - สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ปัจจุบันอยู่ในระดับที่ดี มีการแลกเปลี่ยนการเยือนทุกระดับรวมถึง
ระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
ความร่วมมือด้านการค้า
ทั้งสองประเทศวางกลไกความสัมพันธ์ในหลายระดับ ระดับสูงสุด คือ
กรอบการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย - สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
อย่างไม่เป็นทางการ (Joint Cabinet Retreat : JCR) ซึ่งในการประชุม
JCR ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2547 ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนารมณ์ ใน
“แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยกรอบความร่วมมือไทย - สาธารณรัฐสังคมนิยม
เวียดนามในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21” (Joint Statement on
the Thailand - Vietnam Cooperation Framework in the First
Decade of the 21st Century) ระบุให้มีการเพิ่มพูนความร่วมมือใน
ทุกๆ ด้าน และตกลงให้จัดตั้งกลไกการหารือร่วม (Joint Consultative
Mechanism : JCM) เพื่อเป็นกลไกในระดับรอง ทำหน้าที่ดูแล ประสาน
ความร่วมมือในภาพรวมแทนคณะกรรมาธิการร่วมไทย - สาธารณรัฐ
สังคมนิยมเวียดนาม (Joint Commission : JC)
ด้านการเมืองและความมั่นคง
มีความร่วมมือและประสานกันอย่างใกล้ชิด โดยมีกรอบการประชุม
คณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
(Joint Working Group on Political and Security Cooperation
: JWG on PSC) เป็นกลไกสำคัญ
68 ประเทศไทยกับอาเซียน
ความร่วมมือด้านการลงทุน
ประเทศไทยลงทุนในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสูงเป็นอันดับที่
12 จากนักลงทุนต่างชาติทั้งหมด เอกชนไทยนิยมลงทุนที่นครโฮจิมินห์
และจังหวัดข้างเคียงในสาขาสำคัญ ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม
เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมการเกษตร อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมพลาสติก
ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ สาขาการลงทุนที่มีความน่าสนใจ ได้แก่
ภาคบริการ ซึ่งประเทศไทยมีประสบการณ์และสาธารณรัฐสังคมนิยม
เวียดนามมีความต้องการเพิ่มขึ้นมาก เมื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การ
การค้าโลก และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจขึ้นอีกระดับหนึ่ง
ด้านวิชาการ สังคมและวัฒนธรรม
ประเทศไทยมีความร่วมมือทางวิชาการกับเวียดนามตั้งแต่ปี 2535
ผ่านกรอบการประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย - สาธารณรัฐ
สังคมนิยมเวียดนาม นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นความสำคัญของ
การแลกเปลี่ยนการสอนภาษาระหว่างกัน โดยรัฐบาลไทยได้รับความร่วมมือ
ให้เปิดหลักสูตรสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยสาธารณรัฐสังคมนิยม
เวียดนาม 5 แห่ง ทั้งนี้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสนับสนุน
งบประมาณ 3.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างโรงเรียนสอนภาษา
เวียดนามที่จังหวัดนครพนม ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนการศึกษา
ดูงานระหว่างกันในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ข้อควรรู้
- หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข
เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
- ผู้ถือหนังสือเดินทางปกติของไทย สามารถเดินทางเข้า
เวียดนามโดยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และพำนักอยู่ในเวียดนาม
ได้ไม่เกิน 30 วัน
ประเทศไทยกับอาเซียน 69
- ชาวต่างชาติที่อยู่ในเวียดนาม ต้องถือหนังสือเดินทางติดตัว
ตลอดเวลา ทั้งนี้ควรถ่ายเอกสารหนังสือเดินทาง บัตรเครดิต
และเอกสารสำคัญอื่นๆ แยกเก็บไว้ต่างหากจากต้นฉบับ เนื่องจาก
โรงแรมที่พักจะขอให้แขกต่างชาติแสดงหนังสือเดินทาง เพื่อการ
ลงทะเบียนและแจ้งทางการตำรวจที่เกี่ยวข้อง เวียดนามไม่อนุญาตให้
ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
- หากนำเงินตราต่างประเทศติดตัวเข้ามามากกว่า 7,000
ดอลลาร์สหรัฐ ต้องแจ้งให้ศุลกากรเวียดนามทราบการนำเงินตราออก
ประเทศมากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องได้รับอนุญาตจาก
ธนาคารแห่งชาติหรือธนาคารกลางในท้องถิ่นก่อน มิเช่นนั้นจะถูกยึดเงิน
- บทลงโทษของเวียดนามในคดียาเสพติด การฉ้อโกง
หน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © 2010 Asean Studies Center | Design by Dzignine