Keblinger

Keblinger

หน้าเว็บ

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

| วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีประชากร
มุสลิมมากที่สุดในโลก มีทรัพยากรธรรมชาติมาก (น้ำมัน ถ่านหิน
ทองคำ สัตว์น้ำ) เป็นแหล่งประมงที่ใหญ่ที่สุดของไทย มีบทบาทสูงในกลุ่ม
NAM และ OIC
พื้นที่
5,193,250 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงจาการ์ตา
ประชากร
245.5 ล้านคน
ภาษา
อินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประเทศไทยกับอาเซียน 33
ศาสนา
อิสลาม (ร้อยละ 88) คริสต์ (ร้อยละ 8) ฮินดู (ร้อยละ 2)
พุทธ (ร้อยละ1) ศาสนาอื่นๆ (ร้อยละ1)
วันชาติ
วันที่ 17 สิงหาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
วันที่ 7 มีนาคม 2493
การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของประเทศ (วาระ
การบริหารประเทศ 5 ปี และต่อได้อีก 1 วาระ) มีการแบ่งอำนาจ
ระหว่างประธานาธิบดีและสภาผู้แทนราษฎรและเป็นการปกครอง
ในระบบสาธารณรัฐแบบ Unitary Republic ซึ่งมีการปกครองตนเอง
ในบางพื้นที่ (provincial autonomy)
อากาศ
แบบป่าฝนเขตร้อน มี 2 ฤดูคือ ฤดูแล้งและฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง
21 – 33 องศาเซลเซียส
สกุลเงิน
รูเปียห์
ข้อมูลเศรษฐกิจ
อินโดนีเซียมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศคิดเป็นมูลค่ารวม
ประมาณ 10,349.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศผู้ลงทุนที่สำคัญ
ในอินโดนีเซีย 10 อันดับแรก เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการลงทุน คือ
34 ประเทศไทยกับอาเซียน
สิงคโปร์ อังกฤษ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ซีเชล เมอริเชียส มาเลเซีย
ออสเตรเลีย และบราซิล ไทยเป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับที่ 15
ของอินโดนีเซีย มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ใน 6 โครงการ
ทรัพยากรสำคัญ
น้ำมัน ถ่านหิน สัตว์น้ำ
อุตสาหกรรมหลัก
น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า เหมืองแร่
ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญ
น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ
ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้ สิ่งทอ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย – สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ไทยมีความสัมพันธ์กับดินแดนที่เป็นอินโดนีเซียในปัจจุบันมาช้านาน
โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับชวา และมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
กันอย่างลึกซึ้ง ทั้งทางวรรณคดี อาหาร เครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรี
เป็นต้น
ประเทศไทยกับอาเซียน 35
ด้านการทูต
ไทยและอินโดนีเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่
7 มีนาคม 2493 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดำเนินไปได้
ด้วยดี มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ทั้งในระดับทวิภาคีและกรอบพหุภาคี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือ
ในกรอบอาเซียน นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับ
ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
ด้านการเมืองและความมั่นคง
ทั้งประเทศไทยและอินโดนีเซียมีประเพณีการแลกเปลี่ยนการเยือน
ของผู้นำทางทหาร โดยผู้นำทางทหารของทั้งสองประเทศจะเดินทาง
ไปทำความรู้จักกันในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ และเยี่ยมอำลาใน
โอกาสพ้นจากตำแหน่ง
ด้านเศรษฐกิจ/การค้า
ประเทศไทยและอินโดนีเซียมีกลไกความร่วมมือในรูปของ
คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ
(JC)
ข้อควรรู้
- ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ หรือรับประทานอาหาร
คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซีย
รวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
- การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร
มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติด
มีโทษถึงประหารชีวิต นอกจากนั้น ยังมีบทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับ
การค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อน
ซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © 2010 Asean Studies Center | Design by Dzignine