Keblinger

Keblinger

หน้าเว็บ

ราชอาณาจักรกัมพูชา

| วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ราชอาณาจักรกัมพูชา
กัมพูชา เป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ข้อมูลทั่วไป
มีชื่อเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ต่อประเทศไทยในทุกๆ ด้าน เนื่องจาก
มีพรมแดนทางบกติดต่อกันยาว 798 กิโลเมตร และมีพื้นที่ทับซ้อน
ทางทะเลประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร จึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดทั้ง
“โอกาส” และ “ปัญหา” รวมทั้ง เป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดการค้า
และแหล่งลงทุนที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งสองประเทศจึงควร
ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์
และทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคต นอกจากนี้ยัง
เป็นจุดเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญระหว่าง
ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและตอนใต้
พื้นที่
181,035 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงพนมเปญ
ประชากร
14.45 ล้านคน
ประเทศไทยกับอาเซียน 29
ภาษา
เขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส
เวียดนาม จีน และไทย
ศาสนา
พุทธ นิกายเถรวาท อิสลาม และคริสต์
วันชาติ
วันที่ 9 พฤศจิกายน
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย
วันที่ 19 ธันวาคม 2493
การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
อากาศ ร้อนชื้น
มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 36 องศาเซลเซียส
สกุลเงิน
เรียล
ข้อมูลเศรษฐกิจ
รัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญอย่างสูงสุดต่อการกำหนดยุทธศาสตร์
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อมุ่งขจัดความยากจน
ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่
ชนบทให้ดีขึ้น
30 ประเทศไทยกับอาเซียน
ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก
เสื้อผ้า สิ่งทอเหล็ก รองเท้า ปลาไม้ ยางพารา บุหรี่ และข้าว
ผลิตภัณฑ์นำเข้าสำคัญ
ผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรยานพาหนะ
และเครื่องใช้ไฟฟ้า
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร แคนาดา และเวียดนาม
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
จีน ฮ่องกง เวียดนาม ไทย ไต้หวัน
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย - ราชอาณาจักรกัมพูชา
ด้านการเมืองและความมั่นคง
ผู้นำไทยกับกัมพูชามีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีการแลกเปลี่ยน
การเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ความร่วมมือ
ระหว่างสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น และสามารถแก้ไขปัญหาและ
อุปสรรคต่าง ๆ ได้แต่ยังคงมีประเด็นปัญหาที่ต้องร่วมมือแก้ไข เช่น
การปักปันเขตแดน เป็นต้น
ด้านเศรษฐกิจ/การค้า/การลงทุน
การลงทุนของไทยในกัมพูชาสูงเป็นลำดับ 5 การลงทุนที่สำคัญของไทย
คือ ด้านการเกษตร ด้านอุตสาหกรรมและภาคบริการ เช่น โรงแรม
ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และธุรกิจโทรคมนาคม เป็นต้น
ประเทศไทยกับอาเซียน 31
ด้านสังคม วัฒนธรรมและการศึกษา
ไทยกับกัมพูชามีความคล้ายคลึงกันทางด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างมาก
จึงเป็นเรื่องง่ายที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายจะใช้ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม
เป็นสื่อกลาง ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย – กัมพูชาเพื่อ
ส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและใช้เป็นกลไกในการกระชับ
ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ และยังได้จัดตั้ง
คณะอนุกรรมการด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยว
เพื่อผลักดันความร่วมมือในแต่ละสาขาด้วย นอกจากนี้ ไทยกับกัมพูชา
ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสารสนเทศ
และการกระจายเสียง
ด้านแรงงาน
ไทยกับกัมพูชาได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือใน
การจ้างแรงงาน และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการขจัด
การค้าเด็กและผู้หญิงและการช่วยเหลือเหยื่อจากการค้ามนุษย์
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2546 เพื่อจัดระเบียบและแก้ไขปัญหา
แรงงานข้ามแดนโดยผิดกฎหมายชาวกัมพูชาในไทยรวมทั้งป้องกันและ
ปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์
ข้อควรรู้
- ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยสามารถขอตรวจลงตราเข้ากัมพูชา
ได้จากสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาในไทย โดยเสียค่าธรรมเนียม
1,000 บาท หรือขอตรวจลงตรานักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่านได้เมื่อ
เดินทางถึงท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ โดยกรอกแบบฟอร์ม Visa on
Arrival พร้อมยื่นรูปถ่ายและค่าธรรมเนียม 20 ดอลลาร์สหรัฐ
- ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็น
ระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอ
และบี และกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนที่สถานเอกอัครราชทูตไทย
เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อและให้ความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © 2010 Asean Studies Center | Design by Dzignine